พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภนางสุชาดาน้อง หญิง ของ นาง วิสาขา ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี สะใภ้ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น หิ วณฺเณน สมฺปนฺนา ดังนี้
ได้ยินว่า นางสุชาดานั้นเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เต็มไปด้วยยศอย่างใหญ่หลวง. นางสุชาดานั้นคิดว่า เราเป็นธิดาของตระกูลใหญ่ จึงเป็นผู้ถือตัวจัด มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า ไม่กระทำวัตรปฏิบัติแก่พ่อผัว แม่ผัว และสามี เที่ยวคุกคามเฆี่ยนตีคนในเรือน.
ครั้นวันหนึ่ง พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ เสด็จเข้าไปยังเรือนของท่าน อนาถ บิณ ฑิก เศรษฐี ประทับนั่งอยู่. ฝ่ายมหาเศรษฐีก็เข้าไปนั่งใกล้พระศาสดา ฟังธรรมอยู่. ขณะนั้น นางสุชาดาทำการทะเลาะกับ พวก ทาส และ กรรม กร.
พระศาสดาทรงหยุดธรรมกถาตรัสว่า นี่เสียงอะไร. ท่านเศรษฐี กราบ ทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีหญิงสะใภ้ในตระกูลคนหนึ่ง ไม่มีความเคารพ. นางไม่มีวัตร ปฏิบัติ ต่อ พ่อ ผัว แม่ผัว และสามี ไม่ให้ทาน ไม่รักษาศีล ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เที่ยวก่อแต่การทะเลาะทุกวันทุกคืน.
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียกนางมา. นางสุชาดามา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามนางว่า ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จำพวก เธอเป็นภรรยาพวกไหน ในบรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น. นางสุชาดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่ทราบความแห่งพระดำรัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อ ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่หม่อมฉันโดยพิสดารเถิด.
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงเงี่ยโสตสดับ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
ภรรยาคนใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ มีจิตคิดประทุษร้ายสามี มิได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี ยินดีรักใคร่ในบุรุษอื่น ดูหมิ่นล่วงเกินสามี ขวนขวายเพื่อจะฆ่าสามีผู้ถ่ายมาด้วยทรัพย์ ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า วธกาภริยา ภรรยาเสมอเพชฌฆาต.ได้ยินว่า นางสุชาดานั้นเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เต็มไปด้วยยศอย่างใหญ่หลวง. นางสุชาดานั้นคิดว่า เราเป็นธิดาของตระกูลใหญ่ จึงเป็นผู้ถือตัวจัด มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า ไม่กระทำวัตรปฏิบัติแก่พ่อผัว แม่ผัว และสามี เที่ยวคุกคามเฆี่ยนตีคนในเรือน.
ครั้นวันหนึ่ง พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ เสด็จเข้าไปยังเรือนของท่าน
พระศาสดาทรงหยุดธรรมกถาตรัสว่า นี่เสียงอะไร. ท่านเศรษฐี
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียกนางมา. นางสุชาดามา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามนางว่า ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จำพวก เธอเป็นภรรยาพวกไหน ในบรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น. นางสุชาดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่ทราบความแห่งพระดำรัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อ ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่หม่อมฉันโดยพิสดารเถิด.
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงเงี่ยโสตสดับ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ สามีได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยทาง
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ ไม่ปรารถนาทำการงาน เกียจคร้าน กินจุ หยาบช้า ดุร้าย ปากคอเราะราน ประพฤติข่มขี่พวกคนผู้คอยรับใช้ ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า อัยยาภริยา ภรรยาเสมอดังเจ้า.
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ โอบอ้อมอารี ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีคล้ายมารดาตามรักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า มาตาภริยา ภรรยาเสมอดังมารดา.
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ มีความเคารพสามีของตน มีความละอาย
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ เห็นสามีย่อมร่าเริงยินดีคล้ายกับหญิงสหายเห็นมิตรสหายมาเรือนของตนฉะนั้น เป็นผู้รักษาวงศ์ตระกูล มีศีลมีวัตร ปฏิบัติต่อสามี ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า สขีภริยา ภรรยาเสมอดังเพื่อน.
ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ เป็นคนไม่มีความขึ้งโกรธ ถึงจะถูกคุกคามด้วยการฆ่าและลงอาญา ก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย อดกลั้นต่อสามี ไม่โกรธ ยอมประพฤติตามอำนาจสามี ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า ทาสีภริยา ภรรยาเสมอดังทาส.*
ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จำพวกนี้แล
บรรดา ภรรยา ๗ จำพวกนั้น
ภรรยา ๓ จำพวกเหล่านี้ คือ
ภรรยาเสมอดังเพชฌฆาต ๑
ภรรยาเสมอดังโจร ๑
ภรรยาเสมอดังเจ้า ๑
ย่อมบังเกิดในนรก
ส่วนภรรยา ๔ จำพวกนอกนี้ ย่อมบังเกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี
ครั้นพระศาสดาตรัสจำแนกภรรยา ๗ จำพวกด้วยพระคาถาแล้ว จึงตรัสนิคม
ก็ภรรยาใดในโลกนี้ที่เรียกว่าวธกาภริยา โจรีภริยา และอัยยาภริยา เป็นคนทุศีล หยาบช้า มิได้เอื้อเฟื้อ ภรรยานั้น ครั้นแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมไปสู่นรก.
ส่วนภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า มาตาภริยา ภคินีภริยา สขีภริยา และทาสีภริยา เป็นคนดำรงอยู่ในศีล สำรวมระวังดีตลอดเวลานาน ภรรยานั้น ครั้นแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมไปสู่สุคติ.
______________________
* องฺ. สตฺตก. ๒๓/๖๐.
เมื่อพระศาสดาทรงแสดงภรรยา ๗ จำพวกด้วยประการอย่างนี้แล้ว นางสุชาดาได้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล.
เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสุชาดา บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนี้ เธอเป็นภรรยาพวกไหน? นางสุชาดาจึงกราบทูลว่า กระหม่อมฉันขอเป็นภรรยาเสมอด้วยทาส พระเจ้าข้า แล้วถวายบังคมขอขมาพระศาสดา.
พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ด้วยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้นด้วยประการดังนี้ ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว เสด็จไปพระวิหารเชตวัน เมื่อภิกษุสงฆ์แสดงวัตรแล้ว จึงเสด็จเข้าพระคันธกุฎี. ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงพระคุณของพระศาสดาในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ด้วยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น ให้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล.
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิ
พระมารดาของพระโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า ชอบด่า ชอบบริภาษ. พระโพธิสัตว์นั้นประสงค์จะถวายโอวาทแก่พระมารดา ทรงพระดำริว่า การกราบทูลถ้อยคำที่ไม่มีเรื่องอ้างอิงอย่างนี้ ไม่สมควร จึงเสด็จเที่ยวมองหาข้อเปรียบเทียบ เพื่อทรงแนะนำพระมารดา.
ครั้นวันหนึ่ง ได้เสด็จไปยังพระราชอุทยาน แม้พระมารดาก็ได้เสด็จไปพร้อมกับพระโอรสเหมือนกัน. ครั้งนั้น นกกระต้อยตีวิดกำลังส่งเสียงร้องอยู่ในระหว่างทาง บริษัท
ก็เมื่อพระโพธิสัตว์แวดล้อมด้วยนักฟ้อนเสด็จเที่ยวพระราชอุทยานกับพระมารดา มีนกดุเหว่าตัวหนึ่งแอบอยู่ที่ต้นสาละต้นหนึ่ง มีดอกบานสะพรั่ง ส่งเสียงร้องด้วยสำเนียงอันไพเราะ. มหาชนพากันหลงใหลเสียงนั้น ประคองอัญชลีกล่าวว่า ดูก่อนนกผู้มีเสียงอ่อนหวานสละสลวยนุ่มนวล เจ้าจงร้องต่อไปๆ แล้วต่างแหงนคอเงี่ยโสตยืนแลดูอยู่.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้ทรงทราบชัดเหตุการณ์ทั้งสอง นั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า เราจักสามารถทำพระมารดาให้ยินยอมได้ ในบัดนี้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมารดา มหาชนได้ยินเสียงนก ต้อยตีวิดในระหว่างทาง ต่างพูดว่า เจ้าอย่าส่งเสียงร้อง แล้วปิดหูเสีย ชื่อว่าวาจาหยาบไม่เป็นที่รักของใครๆ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
สัตว์เหล่านี้สมบูรณ์ด้วยสีสรรวรรณะ มีสำเนียงอ่อนหวานน่ารักน่าชม แต่เป็นสัตว์มีวาจากระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักของใครๆ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า.
พระองค์ก็ได้เห็นมิใช่หรือว่า นกดุเหว่าตัวนี้ ดำ สีไม่สวย ตัวลายพร้อย แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะวาจาอ่อนหวาน.
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการจะให้ตนเป็นที่รักของมหาชน พึงเป็นผู้มีวาจาสละสลวย พูดด้วยความคิด ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้อยคำของผู้ที่แสดงอรรถและธรรม เป็นถ้อยคำไพเราะ.
คาถาเหล่านั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-
ข้าแต่พระมารดา สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยสีกายมีสีเหมือนดอกประยงค์เป็นต้น ชื่อ
ส่วนนกดุเหว่ามีปกติกล่าวอ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจากลมเกลี้ยงไพเราะ ถึงจะมีรูปไม่งามก็เป็นที่รักใคร่ได้ ด้วยเหตุนั้น กระหม่อมฉันจึงขอกล่าวกะพระองค์ว่า พระองค์
ดังนั้น เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายมีวาจาแข็งกระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักแม้ของบิดามารดาในโลก ฉะนั้น บุคคลผู้ปรารถนาจะให้เป็นที่รักของชนเป็นอันมาก พึงเป็นผู้มีวาจา
ก็บุคคลใดผู้เห็นปานนี้แสดงอรรถและธรรม ถ้อยคำของบุคคลนั้น ชื่อว่าไพเราะอาศัยเหตุกล่าว ไม่ทำคนอื่นให้โกรธเคือง.
พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พระมารดาด้วยคาถา ๓ คาถาเหล่านี้ด้วยประการอย่าง
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
พระมารดาของพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้เป็น นางสุชาดาในบัดนี้
ส่วนพระราชาในครั้งนั้น ได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
No comments:
Post a Comment