สายพันธุ์ของคะน้า
คะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ด้วยกันคือ
- พันธุ์ใบกลม มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ได้แก่ พันธุ์ฝางเบอร์ 1
- พันธุ์ใบแหลม เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ ได้แก่ พันธุ์ P.L.20
- พันธุ์ยอดหรือก้าน มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้ 1อินลั๊ก..มาก
การเตรียมแปลงปลูก หรือในกระถาง
1. ถ้าปลูกในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก หรือใส่ปุ๋ยหมัก หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง
2. ในกรณีปลูกในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1
การเพราะกล้าผักคะน้า
ทำได้ 2 แบบ คือ
1. เพาะในถาดพลาสติกเพาะกล้า
1. ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพาะกล้า
2. ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้าขนาดความลึก 0.5 ซม.
3. นำเมล็ดผักคะน้าหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด
4. กลบดินผิวหน้าเมล็ดผักคะน้า แล้วรดน้ำ และป้องกันมดมาคาบเมล็ดไปจากถาดพลาสติกเพาะกล้า โดยใช้ปูนขาวโรยเป็นเส้นรอบรูปล้อมถาดเพราะไว้
5. หลังเพาะนาน 7-10 วัน ผักคะน้าเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นผักคะน้าทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้งในช่วงเช้า และเย็น จนกระทั่งต้นผักคะน้ามีอายุ 20-25 วัน จึงย้ายกล้าผักคะน้าลงปลูกในกระถาง หรือในแปลงปลูก
2. เพาะในแปลง
1. หลังจากเตรียมดินในแปลงปลูกแล้ว ใช้จอบขุดเป็นแถวปลูก ระหว่างแถวละ 25 ซม. ความลึกผิวดิน 2-3 ซม.
2. โรยเมล็ดพันธุ์ผักคะน้าบางๆ ตามแถวปลูกที่เตรียมไว้
3. กลบหน้าดินในแปลง และรดน้ำทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเข้าและเย็น
4. หลังเพาะนาน 7-10 วัน ผักคะน้าเริ่มงอก และควรรดน้ำทุกวัน
การดูแลรักษา
1. ถ้าทำการย้ายกล้าจากถาดพลาสติกเพาะกล้าลงปลูกในแปลง หรือในกระถางปลูก
1. ผักคะน้าที่ย้ายกล้าลงในแปลง หรือในกระถาง ให้รดน้ำทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น
2. หลังย้ายปลูก 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ทุกครั้งที่หว่านปุ๋ยเคมี ต้องรีบรดน้ำตามทันที
2. ถ้าทำการเพาะในแปลง
1. ถ้าโรยเมล็ดผักคะน้าบางๆ ในร่องปลูกของแปลงที่เตรียมดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องถอนแยก หรือย้ายปลูกอีก แต่สามารถดูแลบำรุงรักษาเลี้ยงให้เป็นต้นที่สมบูรณ์ จนกระทั่งสามารถตัดมาบริโภคได้
2. การบำรุงดูแลผักคะน้าในแปลงควรหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ทุกๆ 10-15 วัน และทุกครั้งที่หว่านปุ๋ยเคมีต้องรีบรดน้ำตามทันที
การให้น้ำ
1. คะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปลูกในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอ
2. การให้น้ำให้ใช้ฝักบัวฝอยรดให้ทั่วและให้ชุ่ม ในเวลาเช้าและเย็น
โรคและแมลง
โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อรา ป้องกันโดยไม่หว่านเมล็ดคะน้าให้แน่นเกินไป ระบายน้ำให้ดี อย่าให้น้ำขังแฉะในแปลงขณะเป็นต้นกล้า หรือยกแปลงนูนสูงเพื่อให้ระบายน้ำให้เร็ว ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อยๆ รดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง
โรคราน้ำค้าง การป้องกันและกำจัด ให้ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไซแน็บ, มาแน็บ, เบนเลท, ไดโฟลาแทน, เบนโนมิล, ดาโคนิล, แคปแทน หรือยาชนิดอื่นๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ แต่สารประกอบทองแดงไม่ควรใช้ในระยะที่ยังเป็นต้นกล้า เพราะจะเป็นพิษต่อต้นกล้า
โรคแผลวงกลมสีน้ำตาลไหม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา การฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อราอยู่เสมอจะช่วยป้องกันกำจัดเชื้อรานี้และเชื้อราโรคอื่นๆ ด้วย
หนอนกระทู้ผัก หมั่นตรวจดูสวนผักบ่อยๆ เมื่อพบหนอนกระทู้ฟักให้ทำลายเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดลุกลามต่อไป หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมโธมิล ให้อัตรา 10-12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจใช้เมวินฟอส 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
หนอนคืบกะหล่ำ ตรวจดูไข่หรือตัวหนอนในระยะเล็กๆ หากพบให้ใช้สารกำจัดแมลงฉีดพ่น เช่น ฟอสดริล, แลนเนท เป็นต้น หากใช้ในขณะที่หนอนยังมีขนาดเล็กจะได้ผลดี หากการระบาดมีอยู่ตลอดเวลาควรพ่นสารกำจัดแมลงดังกล่าว 5-7 วันต่อครั้ง
หนอนคืบกะหล่ำ ตรวจดูไข่หรือตัวหนอนในระยะเล็กๆ หากพบให้ใช้สารกำจัดแมลงฉีดพ่น เช่น ฟอสดริล, แลนเนท เป็นต้น หากใช้ในขณะที่หนอนยังมีขนาดเล็กจะได้ผลดี หากการระบาดมีอยู่ตลอดเวลาควรพ่นสารกำจัดแมลงดังกล่าว 5-7 วันต่อครั้ง
การเก็บเกี่ยว
หลังจากคะน้างอกแล้วประมาณ 20 วัน หรือต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ให้เริ่มทำการถอนแยกครั้งแรก โดยเลือกถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้นไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งต้นอ่อนของคะน้าในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออกแล้วสามารถนำไปขายได้ และเมื่อคะน้ามีอายุได้ประมาณ 30 วัน จึงทำการถอนแยกครั้งที่ 2 โดยให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตร และต้นคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้ตัดรากออกแล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้ เช่นกัน เมื่อคะน้ามีอายุอยู่ที่ประมาณ 45-55 วันหลังปลูก จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ครั่งที่ 3 คะน้าที่ตลาดต้องการมากที่สุดคือ คะน้าที่มีอายุ 45 วัน แต่คะน้าที่มีอายุ 50-55 วัน เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้น้ำหนักมากกว่า วิธีการเก็บเกี่ยวคะน้าทำได้ดังนี้
1. ใช้มีดคมๆ ตัดให้ชิดโคนต้น
2. ตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง
3. หลังตัดแล้วบางแห่งมัดด้วยเชือกกล้วยมัดละ 5 กิโลกรัม บางแห่งก็บรรจุเข่ง แล้วแต่ความสะดวกในการขนส่ง
การเก็บเกี่ยวคะน้าให้ได้คุณภาพดี รสชาติดี และสะอาด ควรปฏิบัติดังนี้
1. เก็บในเวลาเช้าดีกว่าเวลาบ่าย
2. ใช้มีดเล็กๆ ตัด อย่าเก็บหรือเด็ดด้วยมือ
3. อย่าปล่อยให้ผักแก่เกินไป
4. หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำผักเข้าที่ร่ม วางในที่โปร่งและอากาศเย็น
5. ภาชนะที่บรรจุผักควรสะอาด
1. ใช้มีดคมๆ ตัดให้ชิดโคนต้น
2. ตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง
3. หลังตัดแล้วบางแห่งมัดด้วยเชือกกล้วยมัดละ 5 กิโลกรัม บางแห่งก็บรรจุเข่ง แล้วแต่ความสะดวกในการขนส่ง
การเก็บเกี่ยวคะน้าให้ได้คุณภาพดี รสชาติดี และสะอาด ควรปฏิบัติดังนี้
1. เก็บในเวลาเช้าดีกว่าเวลาบ่าย
2. ใช้มีดเล็กๆ ตัด อย่าเก็บหรือเด็ดด้วยมือ
3. อย่าปล่อยให้ผักแก่เกินไป
4. หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำผักเข้าที่ร่ม วางในที่โปร่งและอากาศเย็น
5. ภาชนะที่บรรจุผักควรสะอาด
เทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญการปลูกคะน้า
จาก นายปฐพี พวงสุวรรณ์ เกษตรกรชุมชนนาคู จ.พระนครศรีอยุธยา
1. หลังหว่านแล้ว ไม่ต้องให้ปุ๋ยบำรุงต้น ให้ปล่อยตามธรรมชาติ ซึ่งต้นจะแดง ๆ แต่แข็งแรงแมลงไม่กวน ไม่เป็นโรค หลังจาก 37 วันไปแล้วค่อยให้ปุ๋ยบำรุงต้น บำรุงใบ รับรองไม่ว่าต้นเล็กต้นใหญ่ก็โตเท่ากันหมด
2. ตอนเย็นราดน้ำให้โชกนิดหนึ่ง ตอนเช้าจะเอาเรือมารดน้ำ ซึ่งการรดตอนเช้ามีประโยชน์คือ ล้างน้ำค้างเพราะน้ำค้างอาจทำให้เกิดเชื้อราทางใบได้พอประมาณ 10 โมงดินเริ่มร้อน รดน้ำอีกครั้งแบบโฉบ ๆ พอบ่ายสองโมงก็โฉบ ๆ อีกครั้ง เพื่อลดอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดทั้งวัน พอทำแบบนี้แล้วก็ได้ผลจริง ๆ
รวบรวมจาก:
No comments:
Post a Comment