Thursday, July 14, 2011

การทำบัตรประชาชน

หลักฐานที่นำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ 
1.
 สำเนาทะเบียนบ้าน
2.
 สูติบัตรหรือหลักฐานอื่นที่มีรูปถ่าย
ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ หรือ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง ฯลฯ เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับ ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
3.
 หากไม่มีหลักฐานตาม (ข้อ 2.) ให้เจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปรับรองด้วย
4.
 กรณีบิดาและมารดา เป็นบุคคลต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าว ของบิดาและมารดามาแสดงด้วย


ทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
ผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ ต้องทำบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อายุครบ 15 บริบูรณ์ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากพ้นกำหนด จะเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท

กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
บัตรมีอายุใช้ได้ 6 ปี เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ให้ทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
การนับวันบัตรหมดอายุ กรณีขอทำบัตรก่อนบัตรเดิมจะหมดอายุ หากผู้ถือบัตรประสงค์จะขอทำบัตรใหม่ก่อนบัตรเดิมหมดอายุ ก็สามารถทำได้ภายใน 60 วัน โดยให้ถือเอาวันครบรอบวันเกิดเป็นเกณฑ์ ไม่ว่าจะระบุในบัตรไว้แล้วว่าบัตรหมดอายุวันใดก็ตาม



กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย เมื่อบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย ให้แจ้การหายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักทะเบียน ที่จะทำบัตรใหม่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหายหรือถูกทำลาย โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด หากพ้นกำหนด จะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท

กรณีบัตรเดิมชำรุด
หากบัตรเดิมชำรุด เช่นไฟไหม้บางส่วน หรือเปียกน้ำจนเลอะเลือน ให้เปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับวันที่บัตรเดิมชำรุดโดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด หากพ้นกำหนด จะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท

กรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือเปลี่ยนสกุล
หากเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือเปลี่ยนทั้งชื่อตัว และชื่อสกุล ให้เปลี่ยนบัตรใหม่ภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด หากพ้นกำหนด จะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท

บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำบัตร
ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ข้าราชการ พระภิกษุ สามเณร ฯลฯ หากมีความประสงค์จะทำบัตร ก็สามารถทำได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด

กรณีพ้นจากสภาพได้รับการยกเว้น
ผู้ที่ได้รับการยกเว้นตามข้อ 6 เมื่อพ้นสภาพการได้รับการยกเว้นแล้ว ต้องทำบัตร ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น โดยไม่เสีย ค่าธรรมเนียม หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท

โทษขอการไม่พกบัตรหรือนำบัตรของคนอื่นไปใช้
กฎหมายกำหนดให้พกพาบัตรประจำตัวประชาชน ติดตัวอยู่เสมอ หากไม่สามารถแสดงบัตร เมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจบัตร จะต้องถูกปรับไม่เกิน 200 บาท

การเสียค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตร
กรณีที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ได้แก่ การทำบัตรครั้งแรก การทำบัตรกรณีบัตรเดิมหมดอายุ การทำบัตรกรณีพ้นจากสภาพได้รับการยกเว้น และการทำบัตรกรณีได้สัญชาติไทย
กรณีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ได้แก่ บัตรหาย บัตรถูกทำลาย บัตรชำรุด ชื่อสกุล ย้ายที่อยู่ และบุคคลที่ได้รับการยกเว้น แต่ประสงค์จะขอทำบัตร โดยเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
การเสียค่าธรรมเนียมไม่เกี่ยวกับการเสียค่าปรับ การปรับเป็นผลการจากกระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดไว้

การขอคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร
เอกสารรายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน มีการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 12 – 18 ปี ผู้ที่ประสงค์ จะขอคัดสำเนารายการต่าง  สามารถยื่นคำร้องขอคัดได้ที่
1.
 ที่ทำการปกครองจังหวัด ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
2.
 สำนักทะเบียนอำเภอ / กิ่งอำเภอ / เทศบาล / สำนักทะเบียน เขตใน กทม. ที่ให้บริการจัดทำบัตร ทุกแห่งทั่วประเทศ 


ที่มา: /www.phurhu.com

No comments:

Post a Comment